ไฟฟ้าเคมี
เลขออกซิเดชัน ย่อว่า ON. คือค่าประจุไฟฟ้าที่สมมติขึ้นของไอออนหรืออะตอมของธาตุ
โดยคิดจากจำนวนอิเล็กตรอนที่ให้หรือรับหรือใช้ร่วมกับอะตอมของธาตุตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น
เลขออกซิเดชันส่วนใหญ่เป็นเลขจำนวนเต็มบวกหรือลบหรือศูนย์ในสารประกอบไอออนิกอะตอมมีการให้และรับอิเล็กตรอนแล้วกลายเป็นไอออนบวกและไอออนลบ
ดังนั้นเลขออกซิเดชันจึงตรงกับค่าประจุไฟฟ้าที่แท้จริง
ซึ่งมีค่าเท่ากับประจุไฟฟ้าของไอออนนั้นๆ ในสารประกอบโคเวเลนต์
อะตอมของธาตุใช้อิเล็กตรอนร่วมกันไม่ได้มีการให้
และรับอิเล็กตรอนเหมือนกับในสารประกอบไอออนิก ดังนั้นในกรณีนี้เลขออกซิเดชันเป็นแต่เพียงประจุสมมติ
ส่วนอะตอมของธาตุใดจะมีค่าเลขออกซิเดชันเป็นบวกหรือลบ
ให้พิจารณาค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี
อะตอมของธาตุที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงกว่าจะมีเลขออกซิเดชันเป็นลบ
ส่วนอะตอมของธาตุที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีต่ำกว่าจะมีเลขออกซิเดชันเป็นบวก
ส่วนจะมีค่าบวกเท่าไรนั้นพิจารณาได้จากจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนที่อะตอมของธาตุนำไปใช้ร่วมกับอะตอมของธาตุอื่น
หลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าเลขออกซิเดชัน
การกำหนดเลขออกซิเดชันมีเกณฑ์ดังนี้
1.
เลขออกซิเดชันของธาตุอิสระทุกชนิดไม่ว่าธาตุนั้นหนึ่งโมเลกุลจะประกอบด้วย
กี่อะตอมก็ตามมีค่าเท่ากับศูนย์ เช่น Na, Zn, Cu,
He, H 2, N 2, O 2, Cl 2, P 4, S 8 ฯลฯ
มีเลขออกซิเดชันเท่ากับศูนย์
2.
เลขออกซิเดชันของไฮโดรเจนในสารประกอบโดยทั่วไป (H รวมตัวกับอโลหะ
) เช่น HCl , H 2O , H 2SO 4 ฯลฯ
มีค่าเท่ากับ + 1 แต่ในสารประกอบไฮไดรด์ของโลหะ (H รวมตัวกับโลหะ
) เช่น NaH , CaH 2
ไฮโดรเจนมีเลขออกซิเดชันเท่ากับ -1
3.
เลขออกซิเดชันของออกซิเจนในสารประกอบโดยทั่วไปเท่ากับ -2
แต่ในสารประกอบเปอร์ออกไซด์ เช่น H 2O 2 และ BaO 2
ออกซิเจนมีเลขออกซิเดชันเท่ากับ -1 ในสารประกอบซุปเปอร์ออกไซด์ ออกซิเจนมีเลขออกซิเดชันเท่ากับ
-1/2 และในสารประกอบ OF 2 เท่านั้น
ที่ออกซิเจนมีเลขออกซิเดชันเท่ากับ +2
4.
เลขออกซิเดชันของไอออนที่ประกอบด้วยอะตอมชนิดเดียวกันมีค่าเท่ากับประจุที่แท้จริงของไอออนนั้น
เช่น Mg 2+ ไอออน
มีเลขออกซิเดชันเท่ากับ +2 ,F - ไอออนมีเลขออกซิเดชันเท่ากับ
-1 เป็นต้น
5.
ไอออนที่ประกอบด้วยอะตอมมากกว่าหนึ่งชนิด
ผลรวมของเลขออกซิเดชันของอะตอมทั้งหมดจะเท่ากับประจุที่แท้จริงของไอออนนั้น เช่น SO 4 2-
ไอออน เท่ากับ – 2
เลขออกซิเดชันของ NH 4 +
ไอออนเท่ากับ + 1 เป็นต้น
6.
ในสารประกอบใดๆ ผลบวกของเลขออกซิเดชันของอะตอมทั้งหมดเท่ากับศูนย์ เช่น H 2O H มีเลขออกซิเดชันเท่ากับ
+ 1 แต่มี H 2 อะตอม
จึงมีเลขออกซิเดชันทั้งหมด เท่ากับ + 2 O มีเลขออกซิเดชันเท่ากับ
– 2
เมื่อรวมกันจะเท่ากับศูนย์เป็นต้น
เพิ่มเติม
1.
ธาตุหมู่ IA , IIA , IIIA ในสารประกอบต่างๆ
มีเลขออกซิเดชันเท่ากับ +1 , + 2 , + 3
ตามลำดับ
2.
ธาตุอโลหะส่วนใหญ่ในสารประกอบมีเลขออกซิเดชันได้หลายค่า เช่น Cl ใน HCl
HClO HClO 2 HClO 3 และ HClO 4
มีเลขออกซิเดชันเท่ากับ - 1, +1, +3, +5 และ
+7 ตามลำดับ
3.
ธาตุแทรนซิชันส่วนใหญ่มีเลขออกซิเดชันได้มากกว่าหนึ่งค่า เช่น Fe ใน FeO และ Fe 2O 3
มีเลขออกซิเดชันเท่ากับ +2 และ +3 ตามลำดับ
การหาเลขออกซิเดชัน
การหาเลขออกซิเดชันอาจทำได้โดยวิธีดังนี้
1.
สมมติเลขออกซิเดชันของธาตุที่ต้องการหา
2.
นำค่าเลขออกซิเดชันของธาตุที่ทราบแล้ว
และเลขออกซิเดชันของธาตุที่ต้องการหาเขียนเป็นสมการตามข้อตกลงในข้อ 5 และข้อ 6
แล้วแก้สมการเพื่อหาเลขออกซิเดชันของธาตุ ดังกล่าว
3.
สำหรับสารประกอบไอออนิก ที่ประกอบด้วยไอออนเชิงซ้อน และไม่ทราบค่า
เลขออกซิเดชันของธาตุมากกว่า 1 ธาตุ เมื่อต้องการหาค่าเลขออกซิเดชันของธาตุ
ควรแยกเป็นไอออนบวกและไอออนลบก่อน จึงสมมติค่าเลขออกซิเดชันของธาตุที่ต้องการหา
แล้วนำ
ค่าเลขออกซิเดชันของธาตุที่ทราบแล้วกับธาตุที่ต้องการทราบไปเขียนสมการตามข้อตกลงในข้อ
5 จากนั้นจึงแก้สมการเพื่อหาเลขออกซิเดชันของธาตุดังกล่าว
ตัวอย่างที่ 1 จงหาเลขออกซิเดชันของ Cr ใน [ Cr(H 2O) 4Cl 2]ClO 4
วิธีทำ H 2O มีเลขออกซิเดชันเท่ากับ 0
Cl - มีเลขออกซิเดชันเท่ากับ
- 1
ClO 4
มีเลขออกซิเดชันเท่ากับ - 1
ให้ Cr มีเลขออกซิเดชันเท่ากับ A
A + ( 0 x 4 ) + (
- 1 x 2 ) + ( - 1 ) = 0
A = + 1 + 2 =
+ 3
ดังนั้น Cr มีเลขออกซิเดชันเท่ากับ + 3
อ้างอิง:https://www.scimath.org/lesson-chemistry/item/7090-2017-05-28-04-13-50
อ้างอิง:https://www.scimath.org/lesson-chemistry/item/7090-2017-05-28-04-13-50
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น