Homepage
สมดุลเคมี
บทเรียนที่
1 การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้
ปฏิกิริยาผันกลับได้
การเปลี่ยนแปลงโดยทั่วไป
มักจะเป็นการเกิดปฏิกิริยาเคมี และการเกิดปฏิกิริยาแบ่งออกเป็น 2
ประเภท คือ
ก. ปฏิกิริยาเกิดสมบูรณ์ (Irreversible reaction)
ปฏิกิริยาเกิดสมบูรณ์
หมายถึง ปฏิกิริยาที่สารตั้งต้นทำปฏิกิริยากันจนหมด
เกิดผลิตภัณฑ์อย่างสมบูรณ์ปฏิกิริยาจะยุติเมื่อสารตั้งต้นสารได้สารหนึ่งหมดและเป็นปฏิกิริยาที่ไม่ย้อนกลับ
เช่น
การเผาไหม้ของถ่านกับก๊าซออกซิเจนในอากาศจำนวนมากเกินพอเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
เขียนแทนด้วยสมการ ดังนี้
โลหะสังกะสีทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริก
เกิดก๊าซไฮโดรเจน เขียนแทนด้วยสมการ ดังนี้
* หมายเหตุ เครื่องหมาย
แทนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดสมบูรณ์ เช่น เกิดปฏิกิริยาสมบูรณ์
ข. ปฏิกิริยาเกิดไม่สมบูรณ์
ปฏิกิริยาเกิดไม่สมบูรณ์
หมายถึง ปฏิกิริยาที่สารตั้งต้นทำปฏิกิริยากัน ได้ผลิตภัณฑ์และในขณะเดียวกัน
ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นบางส่วนทำปฏิกิริยากันกลับเป็นสารตั้งต้นใหม่
ทำให้ปฏิกิริยาเกิดไม่สมบูรณ์ ไม่ว่าจะใช้เวลานานเท่าใดก็ตาม
ภายในระบบยังคงมีทั้งสารตั้งต้นทุกชนิดเหลือ และผลิตภัณฑ์เกิดขึ้นทุกชนิด และระบบจะมีทั้งการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า
และปฏิกิริยาย้อนกลับ เรียกปฏิกิริยาประเภทนี้ว่า ปฏิกิริยาผันกลับได้ (Reversible reaction) เช่น ปฏิกิริยาผันกลับที่เกิดขึ้นระหว่าง
[Co(H2O)6]2+กับ Cl-ดังนี้
* หมายเหตุ เครื่องหมาย แทนการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ และแสดงว่าเกิดสมดุล
การเปลี่ยนแปลงของระบบที่ผันกลับได้
ไม่จำเป็นต้องเป็นระบบที่มีการเกิดปฏิกิริยาเท่านั้น
อาจจะเป็นการละลายเป็นสารละลาย หรือ การเปลี่ยนสถานะของสาร ดังนั้น
การเปลี่ยนแปลงของสารที่ผันกลับได้สามารถแบ่งเป็น 3
ประเภทดังนี้
การละลายเป็นสารละลาย
การละลายเป็นสารละลาย
โดยทั่วไปเป็นการละลายที่มีสถานะเป็นของแข็ง ของเหลว และก๊าซ
ในตังทำละลายเป็นของเหลว เกิดสารละลาย เช่น การละลาย KNO3ในน้ำเป็นสารละลาย
KNO3ดังนี้
การเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้า
และถ้าละลายต่อไปจนอิ่มตัว มี KNO3เหลือ และมีการรวมตัวของ K+กับ NO3-เป็น KNO3ผันกลับได้
ดังนี้
การเปลี่ยนแปลงย้อนกลับเมื่อนำมาเขียนรวมๆ
กันจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ คือ
การเปลี่ยนสถานะของสาร
การเปลี่ยนสถานะของสาร
สารต่างๆ ทุกชนิดสามารถเปลี่ยนสถานะให้เป็นของแข็ง ของเหลว หรือ
ก๊าซได้โดยเกี่ยวข้องกับพลังงาน ไม่เป็นแบบดูดความร้อน ก็เป็นแบบคายความร้อน เช่น
การเปลี่ยนสถานะของสารที่เป็นของแข็งเป็นก๊าซ ดังนี้
การเปลี่ยนแปลงขั้น
1 , 2 และ 4 เป็นแบบดูดความร้อน ส่วนการเปลี่ยนแปลงในขั้นที่ 3 , 5 และ 6
เป็นการคายความร้อน
ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำแข็งเป็นน้ำเหลว
ดังนี้
การเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้า
แต่ขณะเดียวกัน
น้ำเหลวควบแน่นเป็นน้ำแข็ง ผันกลับได้ ดังนี้
การเปลี่ยนแปลงย้อนกลับ
เมื่อนำมาเขียนรวมกันจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้
คือ
การเกิดปฏิกิริยาเคมี
การเกิดปฏิกิริยาเคมี
เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดสารใหม่ที่มีสมบัติแตกต่างจากสารเดิม
ปฏิกิริยาเคมีมีทั้งชนิดไม่ผันกลับ(ปฏิกิริยาเกิดสมบูรณ์)
และปฏิกิริยาที่ผันกลับได้ (ปฏิกิริยาเกิดไม่สมบูรณ์) เช่น
- ปฏิกิริยาระหว่าง Cu2+กับ Mg เกิด Cu และ Mg2+ดังนื้
(ทิ้งไว้นานมาก) เกิดปฏิกิริยาสมบูรณ์
(ปฏิกิริยาไม่ผันกลับ)
- ปฏิกิริยาระหว่าง Fe3+กับ I-เกิด Fe2+และ I2ดังนี้
ปฏิกิริยาไปข้างหน้าและ
ในขณะเดียวกัน Fe2+กับ I2เกิดปฏิกิริยาย้อนกลับได้ Fe3+และ I-ดังนี้
เกิดปฏิกิริยาย้อนกลับเมื่อนำมาเขียนรวมๆ
กันจะเป็นการที่ผันกลับได้ คือ
อ้างอิง: https://scimath.org/lesson-chemistry/item/7134-2017-06-04-08-13-48
อ้างอิง: https://scimath.org/lesson-chemistry/item/7134-2017-06-04-08-13-48
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น